ทำความรู้จักกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ว่ากันด้วยเรื่องของเงินๆ ทองๆ นั้น ก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องที่เกี่ยวกับ “ธนาคาร” อย่างแน่นอนครับ หลายๆ ท่านทราบกันหรือไม่หล่ะครับว่า “ธนาคารแห่งประเทศไทย”นั้นมีหน้าที่ทำอะไรและต้นกำเนิดมาจากไหนกัน วันนี้เราเลยอยากจะพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “ทำความรู้จักกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย” กันดีกว่าพร้อมกับรู้จักต้นกำเนิดของธนาคารแห่งประเทศไทยอีกด้วยครับ จะมีข้อมูลอย่างไรบ้างนั้น…เราไปชมกันเล้ยย!!!

 ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “ธนาคารแห่งประเทศไทย”

ธนาคารแห่งประเทศไทย (อังกฤษ: Bank of Thailand) เป็นธนาคารกลางแห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 ธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น โดยมีหน้าที่หลักในการดูแลกำกับเรื่องการเงินของชาติ ทั้งออกกฎเกณฑ์และควบคุมสถาบันการเงิน นำออกหมุนเวียนซึ่งธนบัตรไทยรวมถึงการควบคุมการถ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศ และเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินตราอื่น

ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นหลังจากประเทศไทยได้มีธนาคารพาณิชย์ทั้งของรัฐและเอกชนเริ่มดำเนินการไปก่อนหน้านั้นแล้ว ภารกิจและหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยเดิมซ้อนเหลื่อมอยู่กับกระทรวงการคลังและได้มีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับหลังจากที่ระบบการเงินของโลกพัฒนาไปและมีวิกฤตเศรษฐกิจครั้งสำคัญต่างๆ

ประวัติความเป็นมาของ ธนาคารแห่งประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2482 เกิดสงครามโลกครั้งที่สอง สงครามและเหตุการณ์ที่เกิดจากสงครามได้เร่งรัดความจำเป็นต้องจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นในประเทศไทย ปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ร่วมมือกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย เริ่มจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทยขึ้นในปี พ.ศ. 2482 อันเป็นแนวทางไปสู่การตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. 2485 ในสมัยที่ พลเอกเภา เพียรเลิศ บริภัณฑ์ยุทธกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (พ.ศ. 2484 – 2487) ได้มีการตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 จัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทย ขึ้นเป็นองค์กรอิสระ และ จากพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเริ่มประกอบธุรกิจได้ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2485 เป็นต้นไป พร้อมกันนี้ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิวัฒนไชย เป็นผู้ว่าการธนาคารพระองค์แรก (พ.ศ. 2485 – 2489) พระองค์ได้ทรงวางระเบียบแบบแผนและดำเนินการจนธนาคารแห่งประเทศไทยได้ดำรงอยู่เป็นปึกแผ่นมั่นคงตลอดมาจนปัจจุบัน

รู้จักกับ “สำนักกษาปณ์”

สำนักกษาปณ์ หรือ โรงกษาปณ์ เป็นหน่วยงานราชการในสังกัดกรมธนารักษ์ ที่เกิดจากการปรับโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของกรมธนารักษ์เมื่อปี พ.ศ. 2545 โดยสำนักกษาปณ์ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการผลิต เหรียญกษาปณ์สกุลเงินบาท เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เหรียญที่ระลึก และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทย รวมถึงของสั่งจ้างต่างๆ เช่น โล่ พระเครื่อง เข็มที่ระลึก เป็นต้น โรงกษาปณ์ในปัจจุบันสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 ซึ่งสถานที่ก่อสร้างอยู่ที่บริเวณ โรงงานทอกระสอบเดิม ของกระทรวง การคลัง ถนนพหลโยธิน กิโลเมตรที่ 34-35 ตำบล คลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี บนเนื้อที่ประมาณ 126 ไร่

หน้าที่ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย

  • กำหนดและดำเนินนโยบายการเงิน หน้าที่ของธนาคารกลางทุกแห่งคือ การกำหนดนโยบายการเงิน เพื่อสร้างระบบทางการเงินที่มีเสถียรภาพ รักษาระดับราคาของสินค้าและบริการไม่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วและมากจนเกินไป จนส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและประชาชนได้
  • รักษาเสถียรภาพระบบการเงิน การรักษาความมั่นคงของระบบการเงินเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลางใน การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบการเงินที่มีเสถียรภาพจึงมีความสำคัญ เพราะหากขาดเสถียรภาพอาจสามารถลุกลามเป็นวิกฤตการเงิน (financial crisis)
  • ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของประชาชน กำกับระบบสถาบันการเงิน กำหนดกลยุทธ์การพัฒนาระบบสถาบันการเงิน และนโยบาย หลักเกณฑ์ รวมถึงกำกับตรวจสอบการดำเนินงาน และการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงินและผู้ให้บริการทางการเงิน เพื่อให้ระบบสถาบันการเงินมีประสิทธิภาพ ฐานะมั่นคง สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างมีเสถียรภาพ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ “ธนาคารแห่งประเทศไทย” ที่เราได้รวบรวมมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์มากๆ สำหรับทุกคนนะครับ

Posts created 53

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top